ปฏิญญาสากล

        จากเรื่องราวที่เกาะฮาชิมะเกี่ยวกับการใช้แรงงานทาส เชลยศึกและข่าวการใช้แรงงานในปัจจุบันทำให้เห็นว่ายังมีการใช้แรงงานอย่างหนัก เยี่ยงทาสอยู่ โดยการบังคับขมขู่ให้ทำงาน และไม่ได้รับค่าตอบแทน ซึ่งผิดต่อ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดังต่อไปนี้

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

คำปรารภ​​

โดยที่การยอมรับนับถือเกียรติ์ศักดิ์ประจำตัว และสิทธิเท่าเทียมกันและโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้ง​

หลายแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นหลักมูลเหตุ แห่งอิสรภาพ และความยุติธรรม และสันติภาพในโลก ​

โดยไม่นำพาและเหยียดหยามต่อมนุษยชน ยังผลให้มีการกระทำอย่างป่าเถื่อน ซึ่งเป็นการละเมิดมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างร้ายแรง และได้มีการประกาศว่า ปฏิญญาสูงสุดของสามัญชนได้แก่ความต้องการให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพ ในการพูดและความเชื่อถือและอิสรภาพพ้นจากความหวาดกลัวและความต้องการ ​

โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักบังคับของกฎหมาย ถ้าไม่ประสงค์จะให้คนตกอยู่ในบังคับให้หันเข้าหาขบถขัดขืนต่อทรราชและการกดขี่เป็นวิถีทางสุดท้าย ​

โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมวิวัฒนาการแห่ง สัมพันธ์ไมตรีระหว่างนานาชาติ ​

โดยที่ประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนอันเป็นหลักมูล ในเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์และสิทธิในความเท่าเทียมกันของบรรดาชายและหญิง ​

โดยที่รัฐสมาชิกต่างปฏิญาณจะให้บรรลุถึงซึ่งการส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามทั่วสากลต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพหลักมูล โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ ​

โดยที่ความเข้าใจร่วมกันในสิทธิ และอิสรภาพเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้ปฏิญญานี้สำเร็จผลเต็มบริบูรณ์

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 3

คนทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิตเสรีภาพ ​และ ความมั่นคงแห่งตัวตน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 4

บุคคลใด ๆ จะถูกยึดเป็นทาส หรือต้องภาระความจำยอมไม่ได้ ความเป็นทาส และการค้าทาส เป็นห้ามขาดทุกรูป ​

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 5

บุคคลใด ๆ จะถูกทรมาน หรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่​โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้